ทนายความจังหวัดพะเยา 090 224 9232

ทนายความจังหวัดพะเยา 090 224 9232

เปิดหน้าต่อไป

เตรียมตัวไปพบ ตำรวจ อัยการ ศาล

เตรียมตัวไปพบตำรวจ

         การเตรียมตัวไปสถานีตำรวจ
เตรียมตัวไปแจ้งความ
         1. เอกสารสำคัญที่ต้องนำติดตัวไป
         2. กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือบัตรถูกทำลาย
         3. แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
         4. แจ้งความคนหาย
         5. แจ้งความรถหรือเรือหาย
         6. แจ้งความอาวุธปืนหาย
         7. แจ้งความทรัพย์สินหรือของหาย
         8. แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร
         9. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์
         10. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์
         11. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อ
         12. แจ้งความทำให้เสียทรัพย์
         13. แจ้งความพรากผู้เยาว์
         14. แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา
         15. แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย
         16. แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน
         17. แจ้งความหมิ่นประมาท
         18. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์


การประกันตัวผู้ต้องหา (ชั้นตำรวจ)
สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

แจ้งความ
1 เอกสารสำคัญที่ต้องนำติดตัวไป
          (ก) บัตรประตัวประชาชน หรือใบแทนฯ หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
          (ข) ในกรณีร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำหลักฐานติดตัวไปด้วย คือ
                    ใบสำคัญแสดงการเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ หรือ
                    ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)
                    ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บไม่สามารถจัดการเองได้ ให้นำหลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุพพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีหรือภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียน, สูติบัตร, ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
                    ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล ให้นำหนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐาน รวมทั้งติดอากรแสตมป์ 5 บาทและหนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์
2. กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือบัตรถูกทำลาย
          (ก) เมื่อบัตรหายหรือถูกทำลาย ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร (ไม่ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
          (ข) หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียน
                    - สำเนาทะเบียนบ้าน
                    - เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้มีบัตร เช่นใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ หนังสือเดินทาง (ถ้ามี) หากไม่มีให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไปให้การรับรอง
          (ค) อายุบัตร
                    บัตรมีอายุใช้ได้ 6 ปี เมื่อบัตรหมดอายุ หรือหาย หรือถูกทำลายหรือชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหมดอายุ หรือหาย หรือถูกทำลาย หรือชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล เว้นแต่บัตรยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต
          (ง) สถานที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถทำได้ที่ที่ว่าการอำเภอ และเทศบาลทั่วประเทศ
          (จ) ความผิด
          - ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้เมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
          - ไม่ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ภายในกำหนด
มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          - บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          - เปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล แล้วไม่ของเปลี่ยนบัตรภายในกำหนด
มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          - ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิใช้
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท

3. แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
เอกสารสำคัญ เช่น โฉนดที่ดิน, ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว, ใบ ป.4 ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

(ก) ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหายต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย

(ข) เจ้าพนักงานตำรวจจะสอบสวนว่าหายจริงหรือไม่ แล้วลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

(ค) เจ้าพนักงานตำรวจจะออกหลักฐานการแจ้งความเอกสารหายเพื่อให้ท่านนำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

4. แจ้งความคนหาย
การแจ้งความคนหาย สามารถแจ้งได้ตลอดเวลา(ไม่จำเป็นต้องรอเวลาให้ครบ 24 ชั่วโมง)

หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลักจากที่ทราบว่าหาย คือ
          (1) บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
          (2) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้หาย (ถ้ามี)
          (3) ภาพถ่ายคนหาย (ภาพถ่ายที่เป็นปัจจุบัน) (ถ้ามี)
ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา โทร. 080 775 2673

5. แจ้งความรถหรือเรือหาย
          แจ้งทาง 191 หรือแจ้ง 1192 แล้วนำหลักฐานไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
          (1)      บัตรประจำตัวประชาชนตัวผู้แจ้งความ ผู้แจ้งต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่สูญหาย หรือผู้รับมอบอำนาจ
          (2)      ใบมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์นั้นๆ (เจ้าของที่แท้จริง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

          (3)      ภาพถ่ายทรัพย์สินที่หาย (ถ้ามี)
          (4)      ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือพาหนะอื่นๆ ที่หาย
          (5)      ใบเสร็จรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
          (6)      ถ้ายานพาหนะดังกล่าวเป็นของนิติบุคคล เป็นตัวแทนห้างร้านบริษัท ผู้ไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของห้างร้านบริษัทนั้นๆไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย

          (7)      หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)

          (8)      หนังสือคู่มือประจำตัวรถ หรือยานพาหนะ (เรือ) ที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถให้จำยี่ห้อ สี แบบ หมายเลขประจำตัวเครื่องตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)

6. แจ้งความอาวุธปืนหาย

          (1)      ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน

          (2)      ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้านขายปืนออกให้ (ถ้ามี)

7. แจ้งความทรัพย์สินหรือของหาย

          (1)      บัตรประจำตัวผู้แจ้งความ       ผู้แจ้งต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่สูญหาย หรือผู้รับมอบอำนาจ
          (2)      ใบมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์นั้นๆ (เจ้าของที่แท้จริง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

          (3)      ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์นั้น

          (4)      รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ เช่น หมายเลขเครื่อง ฯลฯ (ถ้ามี)

          (5)      ภาพถ่ายทรัพย์สินที่สูญหาย

          (6)      ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
          (7)      เอกสารสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องเท่าที่มี
ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือนหรือสำนักงาน ให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปถึง

8. แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ น.ส. 3 แบบ ส.ค.1 หนังสือสัญญา ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

          (3)      หนังสือที่ปลอมแปลง

          (4)      ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นในหนังสือ (ถ้ามี)

9. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์
          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      หนังสือหรือหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง

          (3)      หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์

10. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      หนังสือสำคัญหรือหลักฐานที่แสดงว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง

          (3)      ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

11. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อ

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา หรือใบสำคัญติดต่อซื้อ ขาย เช่า ยืม หรือฝาก

          (3)      ใบสำคัญที่บริษัท ห้างร้าน ออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนัก และเลขหมายประจำตัวทรัพย์นั้น

 

12. แจ้งความทำให้เสียทรัพย์

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน       

          (2)      หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์นั้น

          (3)      หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้

          (4)      หากเป็นของชิ้นใหญ่ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ให้เก็บรักษาไว้อย่าให้เกิดการเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป

13. แจ้งความพรากผู้เยาว์
          (1)      บิดา มารดา หรือผู้ปกครองผู้เยาว์เป็นผู้แจ้ง

          (2)      สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์

          (3)      รูปถ่ายของผู้เยาว์

14. แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา

          (1)      ผู้เสียหาย บิดา มารดา เป็นผู้แจ้ง

          (2)      เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบอสุจิหรือรอยเปื้อนอย่างอื่นอันเกิดจากการข่มขืนและสิ่งของต่างๆของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ

          (3)      บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียหาย

15. แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย

          (1)      ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆให้ที่เกิดเหตุ จนกว่าพนักงานตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ

          (2)      เมื่อพบ มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุหากปล่อยทิ้งไว้จะสูญหายหรือเสียหายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

          (3)      รายละเอียดต่างๆ เท่าที่สามารถบอกให้เจ้าพนักงานตำรวจได้ทราบ

16. แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน
          (2)      เช็คที่ยึดไว้
          (3)      หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือปฏิเสธการจ่ายเงิน
          (4)      หลักฐานหรือเอกสารซึ่งเป็นมูลหนี้ แหล่งที่มาของการจ่ายเช็ค เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย ฯลฯ

17. แจ้งความหมิ่นประมาท
          (1) บัตรประจำตัวประชาชน
          (2) ข้อความสนทนาผ่านแอพพลีเคชันที่คุณคิดว่าเป็นการหมิ่นประมาท

18. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์

          (1) บัตรประจำตัวประชาชน
          (2) บัญชีเงินฝากธนาคารที่โอนเงินให้กับคนร้าย
          (3) รายการสนทนากับคนร้ายผ่านแอพพลีเคชันที่ใช้
          (4) ภาพถ่ายสลิปการโอนเงินให้กับคนร้าย
          (5) ควรแจ้งความแบบออนไลน์กับตำรวจไซเบอร์ ที่เวปไซต์  www.thaipoliceonline.com

เตรียมตัวไปพบพนักงานอัยการ

เตรียมตัวไปพบพนักงานอัยการ

ความจริงแล้วคุณไม่ได้ไปพบพนักงานอัยการในวันนั้นจริงๆหรอกครับ เพราะในวันนัดส่งตัวคุณกับพนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจะเป็นคนรับตัวคุณแทนพนักงานอัยการครับ มาเข้าเรื่องการเตรียมตัวไปพบอัยการกันครับ

ก่อนวันนัดส่งตัวต่อพนักงานอัยการ
เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องคุณแล้ว หน้าที่ของพนักงานสอบสวนก็จะส่งตัวคุณให้พนักงานอัยการครับ มาฟังขั้นตอนกันนะครับ เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมพยาน หลักฐานครบแล้ว มีความเห็นสั่งฟ้องคุณต่อไป พนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวนส่งสำนวนคดีให้กับพนักงานอัยการเพื่อทำคำฟ้องต่อไป พนักงานสอบสวนจะโทรมานัดคุณว่าจะส่งตัวคุณให้พนักงานอัยการในวันที่ตำรวจกำหนด แต่ถ้าคุณไม่ว่างก็ขอเลื่อนไปได้นะครับ แต่เลื่อนได้ไม่ไกลนะครับ เพราะพนักงานสอบสวนมีเวลาจำกัดในการทำงานแต่ละคดีครับ โดยปกติพนักงานสอบสวนจะนัดคุณที่สถานีตำรวจครับ แต่ถ้าคุณมีทนายความแล้ว ทนายความของคุณจะประสานกับพนักงานสอบสวนว่า ให้นัดกันที่สำนักงานอัยการได้เลย เพราะทั้งทนายและพนักงานสอบสวนทราบดีว่า สำนักงานอัยการอยู่ที่ใด เอาเป็นว่าคุณยังไม่มีทนายความก็แล้วกัน เมื่อได้วันนัดส่งตัวคุณแล้วก็ให้ลงบันทึกไว้นะครับ ถ้าลืมวันนัดก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียเวลาครับ

วันนัดส่งตัวพนักงานอัยการ
พนักงานสอบสวนก็จะพาคุณไปพบเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการเพื่อรับตัวคุณและสำนวนคดี ขั้นตอนในช่วงนี้คือ พนักงานสำนักงานอัยการก็จะขอดูบัตรประชาชนคุณว่าเป็นผู้ต้องหาในคดีจริงหรือเปล่า เมื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเสร็จแล้ว พนักงานสำนักงานอัยการก็จะออกใบนัดให้คุณมาพบพนักงานอัยการอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเดือนหรือหลายเดือน ก็เจรจากับพนักงานสำนักงานอัยการดูนะครับ เพราะบางครั้งคุณอาจจะต้องไปพบพนักงานอัยการหลายครั้ง ยิ่งถ้าคุณยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมเข้าไปแล้ว อัยการอาจจะย้อนสำนวนมาให้พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนพยานเพิ่มเติมได้ เป็นเทคนิคของทนายความที่จะขยายระยะเวลาเพื่อให้มีเวลาทำงานหรือหาพยานหลักฐานไว้สู้คดีในชั้นพิจารณาคดีครับ เมื่อเจ้าพนักงานสำนักงานอัยการกำหนดวันนัดแล้วก็จะนำเอกสารเกี่ยวกับการรายงานมาให้คุณเซ็นต์ชื่อเพื่อรับทราบนัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการก็จะให้ใบนัดส่งให้คุณ แจ้งวันให้คุณมารายงานตัวในวันใหน เวลาเท่าไหร่ เป็นอันว่าเสร็จพิธีการส่งมอบตัวให้กับพนักงานอัยการครับ ในชั้นอัยการคุณไม่ต้องประกันตัวนะครับ เพราะพนักงานอัยการถือเอาหลักประกันที่คุณขอปล่อยตัวชั่วคราวที่สถานีตำรวจไว้แล้ว หรือไม่ก็ถือเอาการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นศาลครับ คุณกลับบ้านได้ ให้ถึงวันนัดแล้วคุณก็เตรียมตัวมารายงานตัวครับ

วันนัดส่งฟ้องศาล

ช่วงนี้เป็นเวลาสำคัญครับ เพราะคุณหรือญาติของคุณต้องเตรียมหลักทรัพย์มาไว้เพื่อประกันตัวคุณในชั้นศาลครับ แต่ถ้าคุณประกันตัวคุณไว้ในวันฝากขังแล้ว คุณก็ไม่ต้องประกันตัวอีก แต่ถ้าคุณประกันตัวไว้ในชั้นพนักงานสอบสวน คุณต้องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้งครับ จะต้องใช้หลักทรัพย์เท่าไหร่คุณหรือญาติของคุณเองต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ศาลไว้ก่อนนะครับ เพราะแต่ละคดีใช้หลักทรัพย์ไม่เท่ากัน การใช้ประกันอิสรภาพของบริษัทประกันภัยก็ทำได้ ยกเว้นคดีบ้างประเภทที่บริษัทประกันภัยไม่รับประกันครับ
             เมื่อคุณมารายงานตัวที่สำนักงานอัยการ พนักงานสำนักงานอัยการก็จะพาตัวคุณพร้อมคำฟ้องของอัยการมายื่นฟ้องที่ศาล วันนี้คุณก็ยังไม่ได้พบกับอัยการในคดีของคุณครับ เพราะขั้นตอนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการดำเนินการแทนอัยการเจ้าของสำนวนทั้งหมด พนักงานศาลหรือตำรวจศาลจะรับตัวคุณไว้แล้วให้คุณไปนั่งรอผู้พิพากษา(เวรชี้) เขาเรียกกันอย่างนี้ครับ ในห้องเวรชี้นี้ก็จะมีผู้ต้องหาในคดีต่างๆนั่งอยู่หลายคน เพราะมีทั้งคดีที่อยู่ระหว่างการฝากขัง คือปัจจุบันตำรวจควบคุมตัวคุณได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ตำรวจก็จะพาคุณมาฝากขังที่ศาล ผู้ต้องหาทุกคนก็จะนั่งรอกันเยอะมา ในห้องนี้ทนายความหรือญาติของคุณเข้าไปช่วยคุณหรือให้กำลังใจคุณไม่ได้นะครับ เป็นเขตต้องห้าม เข้าได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ศาล ตำรวจศาลเท่านั้น เมื่อทุกสถานีตำรวจส่งตัวผู้ต้องหามาครบแล้ว เจ้าหน้าที่ศาลก็จะแจ้งไปยังผู้พิพากษาให้ออกนั่งพิจารณาคดี เหมือนๆกันหนังเปาบุ๋นจิ้นเลยแหละ  เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นศาลเดินขึ้นบัลลังก์ เจ้าหน้าที่จะแจ้งว่า ทำความเคารพศาล ทุกคนต้องยื่นขึ้นครับ เมื่อผู้พิพากษานั่งลงแล้ว ก็จะบอกให้ทุกคนนั่งครับ ผู้พิพากษาจะหยิบสำนวนคดีแต่ละคดีขึ้นมา สำนวนคดีนี้ก็จะถูกเรียงโดยเจ้าหน้าที่ของศาล ขั้นตอนนี้ผมไม่ทราบนะครับว่าเขาเรียงกันอย่างไร เพาะผมก็ไม่เคยเข้าไปในห้องนี้ไม่ว่าในฐานะทนายความหรือในฐานะอื่นๆ เมื่อผู้พิพากษาหยิบสำนวนคดีคุณขึ้นมา ท่านก็จะเรียกชื่อผู้ต้องหา คุณในฐานะผู้ต้องหก็ต้องยื่นขึ้นครับ และแจ้งว่าคุณคือผู้ต้องหาในคดีนี้ ขั้นตอนต่อไปสำคัญครับ ผู้พิพากษาจะอ่านคำฟ้องให้คุณฟังตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วถามคุณว่า คุณจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ ถ้าคุณมีทนายความเอง ทนายความของคุณก็จะแนะนำคุณว่า ให้ตอบปฏิเสธ บางคนอยากรับสารภาพหรือต้องการรับสารภาพ ถ้าคดีเล็กน้อยก็ไม่เสี่ยงเท่าไหร่ แต่ถ้าคดีมีโทษจำคุกสูงๆเสี่ยงต่อการติดคุกครับ ผมเป็นทนายความ ผมก็ต้องแนะนำให้คุณปฏิเสธเช่นกันครับ ปฏิเสธเพื่ออะไร เพื่อมีเวลาเตรียมตัวเขียนคำแถลงประกอบคำรับสารภาพ แถลงความดีของคุณให้ศาลได้ทราบเพื่อใช้ดุลพินิจในการพิพากษารอลงอาญาในคดีของคุณ

              ศาลจะถามคุณต่อไปว่า คุณมีทนายความหรือยัง ถ้าคุณมีแล้ว ศาลก็จะกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อให้คุณมาศาลพร้อมทนายความ แต่ถ้าคุณไม่มีทนายความและคุณประสงค์จะให้ศาลจัดหาให้ เขาเรียกทนายคนนี้ว่า ทนายขอแรงครับ ทนายมีแรงเยอะครับ แต่ไม่ค่อยมีเงินครับ ศาลจะแต่งตั้งทนายความให้คุณเพื่อให้คำปรึกษาคดีความ ทนายขอแรงแนะนำว่าคุณควรทำอะไรบ้างในขั้นต่อไป ศาลจะให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งสำเนาคำฟ้องให้กับคุณเพื่อให้คุณนำไปให้ทนายความหรือญาติของคุณในการทำคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว การปล่อยตัวชั่วคราวให้คุณเข้าไปศึกษาหาข้อมูลได้ที่ เตรียมตัวไปศาลยุติธรรมครับ เมื่อศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว คุณก็กลับบ้านได้ แต่ถ้าศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เจ้าหน้าที่เรือนจำจะพาคุณไปเรือนจำครับ คุณก็ต้องให้ญาติหรือทนายความของคุณอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวต่อไปครับ  

เตรียมตัวไปศาลยุติธรรม


1.    ไปศาลควรปฏิบัติตนอย่างไร

2.    พนักงานต้อนรับประจำศาล (เสื้อสีฟ้า) ให้ความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง

3.    เมื่ออยู่ในห้องพิจารณาคดีต้องปฏิบัติตนอย่างไร

4.    ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายศาล

5.    ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเบิกความ

6.    การเบิกความคืออะไร

7.    เบิกความเท็จมีความผิดหรือไม่

8.    คำแนะนำ 10 ประการในการแต่งตั้งทนายความ

9.    การเริ่มต้นฟ้องคดีจะฟ้องที่ศาลใด

10. ผู้ที่จะฟ้องคดีได้แก่ใครบ้าง

11. การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาทำอย่างไร

12. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง

13. เมื่อรู้ตัวว่าถูกฟ้อง ควรทำอย่างไร

14. จำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้วมีสิทธิ์ ดังนี้

15. ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องในคดีอาญา

16. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีอาญา

17. จะยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลได้เมื่อใด

18. ศาลมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการพี่นาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว

19. สิ่งที่ควรรู้หากถูกทวงหนี้

 

 

1.    ไปศาลควรปฏิบัติตนอย่างไร

เมื่อเข้าไปในเขตศาลควรปฏิบัติตนดังนี้

·        ห้ามนำอาวุธ ยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายทุกชนิด เข้าไปในเขตศาล มิฉะนั้นอาจมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและอาจถูกดำเนินคดีอาญาด้วย

·        ห้ามส่งเสียงดังทะเลาะวิวาทกันในศาลไม่เปิดประตูเข้าเข้าออกออกห้องพิจารณาขณะที่ศาลนั่งบัลลังก์ให้เป็นที่รำคาญแก่ผู้อื่น

·        ห้ามบันทึกภาพเสียงหรือบันทึกวิดีโอโดยไม่ได้รับอนุญาต

·        ห้ามสูบบุหรี่

·        ห้ามพูดคุยกันห้ามนั่งหลับในห้องพิจารณา

·        ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ

2.    พนักงานต้อนรับประจำศาล (เสื้อสีฟ้า) ให้ความช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง

               ทุกวันนี้หากท่านใดมีโอกาสไปติดต่อราชการที่ศาลยุติธรรมทุกแห่งทั่วประเทศ ก็จะได้พบกับพนักงานต้อนรับประจำศาลยุติธรรมที่สวมเสื้อเครื่องแบบสีฟ้าที่มีป้ายชื่อติดอยู่บริเวณหน้าอกด้านซ้ายยืน คอยให้การต้อนรับพร้อมตอบข้อซักถามและคอยบริการ ให้คำแนะนำประชาชนในการติดต่อราชการศาล เช่นให้คำปรึกษากรณีการขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย พร้อมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในด้านอื่นๆ ซึ่งมีหลัก “บริการด้วยรอยยิ้ม จากใจศาลยุติธรรม”

               เมื่อประชาชนเดินเข้ามาในบริเวณศาล พนักงานต้อนรับประจำศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ที่เข้าไปหาประชาชนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม สอบถามอย่างเป็นกันเอง เกี่ยวกับกิจธุระที่ประชาชนมาติดต่อราชการศาล แล้วชี้แนะและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือหากจำเป็นต้องแนะนำให้ประชาชนไปติดต่อในส่วนอื่นก็จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ต้องไปติดต่ออย่างชัดเจน พร้อมกับแจ้งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การมาติดต่อราชการศาลของประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ในส่วนที่ดำเนินการเกี่ยวกับกิจธุระที่ประชาชนมาติดต่อขอรับบริการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับทราบโดยไม่ต้องซักถามซ้ำอีกทำให้การติดต่อราชการศาลสามารถดำเนินการได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

 

3.    เมื่ออยู่ในห้องพิจารณาคดี ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

การปฏิบัติตนเมื่อเข้าไปในหูพี่นาคดี ควรปฏิบัติตนดังนี้

·        ขณะที่ศาลออกนั่งพี่นาคดีผู้ที่อยู่ในห้องพี่นาคดีต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

·        เมื่ออยู่ในห้องพี่นาคดีต้องสำรวมเมื่อศาลขึ้นหรือลงบัลลังก์ต้องลุกขึ้นทำความเคารพ

·        ขณะนั่งฟังการพิจารณาคดีต้องสำรวม สุภาพ ไม่พูดคุยกัน ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่สูบบุหรี่ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่สวมแว่นตาดำ ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม

·        เมื่อศาลอ่านรายงานกระบวนพี่นาคดีใดผู้เกี่ยวข้องคดีนั้นต้องลุกขึ้นยืนฟัง หากบุคคลใดมีข้อความจะแถลงต่อศาลต้องลุกขึ้นยืนพูดห้ามนั่งพูด

 

4.    ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายศาล

อันดับแรกที่ควรทำคือควรตรวจสอบว่าเป็นไม้ชนิดใดและเกี่ยวข้องกับสารใดเนื่องจากหมายศาลมีหลายประเภทได้แก่

·        หมายนัดเป็นไม้ที่ให้ไปศาลตามนัดเวลาที่กำหนด

·        หมายเรียกเป็นหมายที่ส่งไปพร้อมกับสำเนาคำฟ้อง เพื่อให้จำเลยแก้คดีภายในกำหนด นับแต่วันที่ได้รับ

หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในคดีแพ่ง ส่วนคดีอาญาที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีชั้นศาล ในกรณีที่ราษฎรเป็น

 

โจทก์ฟ้องเองหากศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลศาลจะประทับรับฟ้องไว้หากเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาลศาลอาจจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อจะได้ดำเนินกระบวนพี่นาคดีต่อไป

·        คำสั่งเรียกเอกสารเป็นหมายคำสั่งเรียกและเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งบุคคลภายนอกของทางราชการหรือของเจ้าหน้าที่ และคู่ความฝ่ายหนึ่งต้องการใช้เอกสารนั้นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีของคู่ความนั้น จึงได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกให้ผู้ครอบครองเอกสารนั้นส่งเอกสารให้แก่ศาลด้วยตนเองหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้

·        หมายเรียกให้มาเป็นพยานเบิกความต่อศาลตามวันและเวลาที่กำหนดในหมาย

5.    ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเบิกความ

1.      เมื่อได้รับหมายเรียกควรดูอย่างรอบคอบว่าเป็นหมายของศาลใดศาลนั้นตั้งอยู่ที่ใดต้องไปเบิกความในวันและเวลาใดหากมีข้อสงสัยควรโทรศัพท์สอบถามไปยังศาลตามหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ด้านล่างของหมายเรียก

2.      ไปศาลตามวันและเวลานัด แต่หากมีความจำเป็นไม่อาจไปศาลตามกำหนดได้ต้องรีบแจ้งให้ศาลทราบก่อนวันนัดเพราะการขัดคืนไม่ไปศาลอาจถูกศาลออกหมายจับเพื่อเอาตัวไปกัดขังไว้จนกว่าจะเบิกความและยังถือว่าเป็นความผิดต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

3.      ตรวจหมายเลขห้องพี่นาคดีและรอการเบิกความในห้องพี่นาคดีจึงควรนำหมายเรียกติดตัวไปศาลด้วยเพื่อความสะดวกในการติดต่อสอบถามและเมื่อมาถึงศาลแล้วให้หาห้องพี่นาคดีโดยอาจสอบถามจากพนักงานต้อนรับประจำศาลหรือเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์หรือป้ายอักษรวิ่งจอคอมพิวเตอร์ในศาลนอกจากนี้ควรนำหลักฐานประจำตัวเช่นบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ยืนยันตน

4.      ก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาที่ตนนับถือหรือปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี บุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบพระภิกษุหรือสามเณรในพุทธศาสนาและบุคคลที่คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องสาบาน ผู้ที่ขัดคืนคำสั่งของศาลที่ให้สาบานหรือให้ปฏิบัติปฏิญาณจะมีความผิดต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1000 บาท

 

6.    การเบิกความคืออะไร

               การที่บุคคลไปให้ข้อมูลแก่ศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเพื่อให้ศาลใช้ข้อมูลที่ได้รับประกอบการพิจารณาคดีพิพากษานั้น โดยการให้ข้อมูลดังกล่าวจะทำด้วยการให้บุคคลที่ไปเบิกความตอบคำถามข่าวสารหรือของคู่ความแต่ละฝ่าย

               พยานควรเบิกความเฉพาะเท่าที่ตนได้เห็นได้ยินหรือได้ทราบโดยตรงเท่านั้นและต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามพยานอ่านข้อความที่จดหรือเขียนมาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหากเหตุการณ์ที่พยานไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ให้ตอบไปแบบตรงตรงว่าพยานไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ถ้าพยานฟังคำถามของคู่ความหรือทนายความไม่ชัดเจนพยานอาจขอให้คู่ความหรือทนายความทวนคำถามใหม่ได้

               เมื่อเบิกความเสร็จแล้ว ศาลจะอ่านคำเบิกความที่บันทึกให้แก่พยานฟัง ถ้าพยานเห็นว่ามีข้อความใดไม่ตรงกับที่ได้เบิกความไว้ พยานก็สามารถทักท้วงขอแก้ไขได้ หากข้อความดังกล่าวถูกต้องทั้งหมดแล้วศาลจะให้พยานลงลายมือชื่อชื่อไว้ท้ายคำเบิกความและเป็นอันเสร็จสิ้นการเป็นพยาน

 

7.    เบิกความเท็จจะมีความผิดหรือไม่

               การเบิกความเท็จ เป็นการที่พยานเอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จมาเบิกความต่อศาล ไม่ว่าพยานผู้นั้นจะได้สาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความหรือไม่ก็ตาม และที่สำคัญ ความเท็จนั้นต้องเป็นข้อมูลสำคัญในคดี ที่จะมีผลต่อการวินิจฉัยของศาลที่จะนำไปสู่การแพ้หรือชนะคดี ผู้เบิกความจะมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ทั้งนี้จะต้องเบิกความไปโดยมีเจตนาคือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนเบิกความนั้นเป็นเท็จ การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการเบิกความเท็จในคดีอาญา ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปีและปรับไม่เกิน 14,000 บาท

8.    คำแนะนำ10 ประการในการแต่งตั้งทนายความ

1.      ขอดูใบอนุญาตทนายความ ต้นฉบับผู้ประกอบอาชีพทนายความ ต้องได้รับอนุญาตจากสภาทนายความเท่านั้น

2.      ถามทนายความว่า มีความสัมพันธ์ส่วนได้อะไรหรือเคยทำงานให้กับบุคคลที่จะเป็นคู่ความกับต้นหรือไม่ เพราะหากมีการแต่งตั้งให้เป็นทนายแล้ว ทนายความบางคนอาจจะมีผลประโยชน์ขัดกันในการทำหน้าที่เป็นทนายความให้แก่ลูกความ

3.      สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในคดีและค่าทนายความ เนื่องจากทนายความมีวิธีการเรียกค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปทนายความจะขอให้ลูกความเล่าเรื่องย่อ แล้วจะให้ความเห็นและแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายก่อนจึงจะกำหนดค่าใช้จ่ายและค่าทนายความ ซึ่งควรสอบถามรายละเอียดหรือข้อสงสัยเพื่อให้ทนายความอธิบายให้ชัดเจนด้วย

4.      เมื่อได้สอบถามปัญหาต่างๆ จนเป็นที่พอใจว่า จะว่าจ้างทนายความคนดังกล่าวแล้ว ก็ควรส่งมอบข้อมูลคดีให้ทนายความดำเนินการโดยให้ทำหลักฐานการรับเอกสารไว้ด้วย

5.      ควรขอให้ทนายความทำหนังสือสัญญาว่าความให้ละเอียดถูกต้องตามที่ได้เจรจากันมา หากมีข้อสงสัยในหนังสือสัญญาข้อใดไม่ชัดเจนก็ขอให้ทนายความชี้แจงและขยายความเพื่อมิให้เป็นปัญหาในภายหลัง

6.      ควรเก็บสำเนาเอกสารที่ส่งมอบให้แก่ทนายความตลอดจนเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคดีให้เป็นหมวดหมู่เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและติดตามคดี

7.      ควรติดตามผลคดีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการแล้วก็ตาม เพราะผลดีหรือผลเสียแห่งคดีย่อมต้องตกแก่คู่ความตัวลูกความเพียงฝ่ายเดียว โดยให้บันทึกหมายเลขคดีดำและชื่อศาลไว้เป็นหลักฐาน

8.      หากคู่ความฝ่ายตรงข้ามติดต่อมาหรือมีข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ต้องรีบแจ้งให้ทนายความทราบทันที เพราะอาจจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี

9.      เมื่อมีปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับคดีให้รีบสอบถามหรือขอคำอธิบายจากทนายความทันทีอย่ามัวแต่เกรงใจเพราะปัญหาข้อข้องใจดังกล่าวอาจทำให้ผลงานของคดีได้รับความเสียหายหรือกลายเป็นปัญหาใหญ่ติดตามมาก็ได

10.   ค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมที่ชำระให้แก่ศาล ศาลจะออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกครั้ง หากมีข้อสงสัยควรตรวจสอบใบเสร็จรับเงินจากทนายความ

               หากในใบแต่งตั้งทนายกำหนดให้ทนายมีอำนาจรับเงินจากศาลและคู่ความยังไม่ได้รับเงินคู่ความควรตรวจสอบจากทนายความและศาลว่ามีการรับเงินแทนแล้วหรือไม่

 

9.    การเริ่มต้นฟ้องคดี จะฟ้องที่ศาลใด
               ศาลชั้นต้นเป็นศาลซึ่งรับคำฟ้องหรือคำร้องในชั้นเริ่มต้นคดีหลังจากพิจารณาคดีแล้ว จึงชี้ขาดตัดสินคดีเป็นศาลแรกทั้งมีอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาในบางเรื่อง เช่น อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวทั้งนี้ ศาลชั้นต้นมี 2 ประเภท คือ

a.     ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

               ศาลชั้นต้นทั่วไปสำหรับ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญามีนบุรี ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลอาญาพระโขนง ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงปทุมวันและศาลแขวงดอนเมือง โดยจะต้องพิจารณาที่ประเภทของคดีก่อนว่าอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด

1.      สำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครประกอบด้วยศาลจังหวัดและศาลแขวง

               ศาลจังหวัดมีอำนาจทั่วไปที่จะรับฟ้องคดีได้ทุกประเภททั้งคดีแพ่งและคดีอาญาทั่วไป

               ศาลแขวงมีอำนาจในการรับฟ้องคดีอาญาที่มีความที่เป็นความผิดเล็กน้อยซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่สูงโดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท

2.     ศาลชำนัญพิเศษ

ศาลชำนัญพิเศษเป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณาเป็นการเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนาญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นนั้น

               ศาลชำนาญพิเศษได้แก่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและศาลการค้าระหว่างประเทศ ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลายกลาง  ศาลแรงงานซึ่งปัจจุบันศาลแรงงานมีศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาค 1- 9 และศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งปัจจุบันมีศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทั่วประเทศ

 

10. ผู้ที่จะฟ้องคดีได้มีใครบ้าง

ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

            บุคคลธรรมดาผู้ที่มีสภาพบุคคลมีสิทธิ์และหน้าที่ตามกฎหมายจึงอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรืออาจถูกฟ้องเป็นจำเลยก็ได้

            ผู้เยาว์ถ้าจะฟ้องคดีอาจแยกเป็นสองกรณี คือกรณีผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ หรือกรณีผู้เยาว์ฟ้องคดีเองซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบทำก่อน

            นิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา โดยยกเว้นสิทธิและหน้าที่บางประการที่นิติบุคคลจะมีอย่างบุคคลธรรมดาไม่ได้ การจะเป็นนิติบุคคลได้ต้องมีบัญญัติกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ นิติบุคคลได้แก่ บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ สมาคม มูลนิธิ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หน่วยราชการ (กระทรวง ทบวง กรม) รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย จังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น รัฐบาล กลุ่มหรือคณะบุคคล กองมรดก หน่วยราชการ ที่มีฐานะเป็นกอง สำนักสงฆ์ สุเหร่า อำเภอ ชมรม เป็นต้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลดังนั้นจึงไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องหรืออาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

11. การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา ทำอย่างไร

               เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจผลคำพิพากษาอาจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้หรือเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษารักษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจอาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น ในคดีแพ่ง ตามปกติจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในกรณีที่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาท และจะฎีกาได้เฉพาะในกรณีที่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่า 200,000 บาทเป็นต้น คู่ความที่ประสงค์จะอุทธรณ์หรือฎีกาต้องยื่นอุทรหรือฎีกาต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณี นอกจากนี้ ในศาลอาญา หากจำเลย ถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำจำเลย อาจยื่นอุทรหรือฎีกาต่อพัศดีเรือนจำ ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อให้พัศดีส่งต่อให้ศาลชั้นต้นหรือให้ทนายความของจำเลยยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลแทนตนก็ได้

12. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง

               ยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีผู้บริโภคคดีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยากจำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพี่นาคดีได้

กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เริ่มนับระยะเวลาเมื่อผล 15 วันนับแต่วันปิดหรือประกาศโฆษณาจำเลยจึงยื่นคำให้การได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดหรือประกาศโฆษณา

เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกยื่นคำให้การแล้วมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามคำสั่งศาลถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

หมายเหตุเมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาและแต่งตั้งทนายความ

หากวันครบกำหนดยื่นคำให้การตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์สามารถยื่นคำให้การในวันทำการถัดไปได้

 

13. เมื่อรู้ตัวว่าถูกฟ้อง ควรทำอย่างไร

               1. เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าความและดำเนินการทางศาลแทน

               2. เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การจะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด

               3. การนับระยะเวลายื่นคำให้การ จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือบุคคลอื่นที่มีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่ทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกันกับจำเลยรับหมายเรียกหรือสำเนาคำฟ้องแทน แต่หากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยด้วยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลยหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อผล 15 วัน นับแต่วันปิดหรือวันประกาศโฆษณากล่าวง่ายๆก็คือ จำเลยได้เวลาเพิ่มอีก 15 วัน ซึ่งถ้าจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดได้ก็อาจจะยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายเวลายื่นคำให้การได้ โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น จากนั้นจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต

14. จำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้วมีสิทธิ์ ดังนี้

1.      แต่งตั้งทนายความเพื่อแก้ต่างในฉันไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และฎีกา

2.      ปรึกษาทนายความหรือผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

3.      ตรวจสอบตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพี่นาของศาลคัดสำเนาหรือขอสำเนาที่มีการรับรองว่าถูกต้องโดยเสีย        ค่าธรรมเนียม

4.      ตรวจดูสิ่งที่ได้ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายภาพสิ่งนั้นๆ

5.      ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน ทั้งนี้หากมีทนายความ ทนายความย่อมมีสิทธิ์เดียวกับจำเลยตามที่กล่าวมาแล้วด้วย

6.      ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว

7.      คัดค้านผู้คณะผู้พิพากษา

 

เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยควรทำอย่างไร

15. ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องในคดีอาญา

1.      เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าความและดำเนินคดีทางศาลแทน

2.      เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ จะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด

3.      การนับระยะเวลายื่นคำให้การ จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือบุคคลอื่นที่มีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่ทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกับจำเลย รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนแต่หากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลย หรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันปิดหรือวันประกาศโฆษณา     กล่าวง่ายๆ ก็คือ จำเลยได้เวลาเพิ่มอีก 15 วันซึ่งถ้าจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาได้ ก็อาจจะยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น      จากนั้นจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต

4.      เตรียมหลักประกันเพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาล

5.      จะต้องมาศาลตามกำหนดนัด

               หากมีข้อสงสัยให้โทรศัพท์สอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาลที่จำเลยถูกฟ้อง

 

16. การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีอาญา

นำหมายนัดหรือหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปด้วย

เตรียมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน

เตรียมหลักทรัพย์เพื่อประกันตัวโดยให้สอบถามราคามาตรฐานกลางในการประกันต่อศาลนั้นนั้นก่อน

แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

หมายเหตุ เมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาแล้วแต่งตั้งทนายความ

17. จะยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลได้เมื่อใด

1.      เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาและยังไม่ได้นำตัวมาฝากขังต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน

2.      เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาและพนักงานสอบสวนนำตัวมาฝากขังต่อศาลให้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาล

3.      เมื่อตกเป็นจำเลย
โดยพนักงานอัยการนำตัวไปฟ้องศาล
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วคดีมีมูลและศาลประทับรับฟ้อง

4.      เมื่อถูกครั้งตามหมายศาล เช่น จำเลยที่หลบหนีไปและถูกศาลออกหมายจับ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ หรือกรณีที่พยานไม่มาศาลและถูกศาลออกหมายจับ หรือจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือกักขัง และคดีมีสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาได้

 

18. ศาลมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการพี่นาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว

               การวินิจฉัยคำ ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจะพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ ดังนี้

                                                    i.     ความหนักเบาแห่งข้อหา

                                                   ii.     พยานหลักฐานที่นำสืบมาแล้ว มีเพียงใด

                                                  iii.     พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีเป็นอย่างไร

                                                  iv.     ความน่าเชื่อถือของผู้ร้องขอประกันและหลักประกันมีเพียงใด

                                                   v.     ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

                                                  vi.     ภัยตรายหรือความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีหรือไม่ เพียงใด

                                                vii.     ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาลถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการโจทก์แล้ว แต่กรณีศาลเพิ่งรับประกอบการวินิจฉัยได้ (ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ศาลจะต้องสอบถามพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ หรือโจทก์ว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่

 

 

19. สิ่งที่ควรรู้หากถูกทวงหนี้

               เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยทางศาลได้ เมื่อมีคำพิพากษาแล้วถึงจะสามารถบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ นอกจากนี้หากมีการทวงหนี้ ผู้ถูกทวงหนี้จะต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้นการไปข่มขู่ คุกคาม ญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้อาจเป็นความผิดฐาน กรรโชกทรัพย์ แต่หากการทวงหนี้ เป็นการข่มขู่ ด้วยวาจา หยาบคาย ทำร้ายร่างกาย กักขัง หรือทำการรบกวนชีวิตประจำวันต่อลูกหนี้ หรือสมาชิกในครอบครัว รวมถึงเพื่อน ผู้ถูกทวงหนี้ก็มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันทีและถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว ผู้ทวงหนี้ ก็จะต้องถูกรับโทษอาญา ฐานดูหมิ่นทำร้ายร่างกาย หรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ แล้วแต่กรณี รวมถึงการทวงหนี้ ด้วยวิธีการก้าวร้าว หรือจงใจประจาน ทำให้เเสียชื่อเสียงด้วยวิธีต่างๆอาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ ทั้งนี้เมื่อเป็นหนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำระการเป็นหนี้ไม่สร้างผลดีให้กับใคร การอยู่อย่างพอเพียงกิน – ใช้อย่างประหยัดก็จะทำให้ชีวิตเป็นสุข